วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันจันทร์ ที่ 9 มีนาคม2563
เวลา 08.30-12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
ในภาพเป็นเเผนการสอนวันจันทร์

เนื้อหาข้างในรูป
1.เนื้อหา
 1.1 สายพันธุ์
       -แขกดำ
       -ครั่ง 
       -แรดแคริเบียน
       -โกโก้
2. สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 
   2.1 นับจำนวน
   2.2 การวัด
   2.3 เรขาคณิต
3. การจัดประสบการณ์ 
  3.1 คาดการณ์
      - มะละกอใส่ตร้า
  3.2 นับจำนวน
      - วางเรียงจากซ้ายไปขวา
      - บอกจำนวนทั้งหมดในตร้า
  3.3 แยกประเภท
      - แยกชื่อสายพันธุ์ของมะละกอ  

แผนการสอนของเเต่ละวันหรือ 1 สัปดาห์
วันจันทร์       สอนเกี่ยวกับชนิดของมะละกอ 
วันอังคาร      สอนเกี่ยวกับลักษณะ
วันพุธ           สอนเกี่ยวกับการดูเเลรักษา
วันพฤหัสบดี  สอนเกี่ยวกับประโยชน์เเละข้อควรระวัง
วันศุกร์          สอนเกี่ยวกับการเเปรรูป

คำศัพท์
1. PaPaya = มะละกอ
2. Classify = แยกประเภท
3. Lesson plan = แผนการสอน
4. Type = ชนิด
5. Transform = แปรรูป

การประเมิน💖
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ได้พูดเเละคิดคำตอบ ตั้งใจทำเเผนการสอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนค่อนข้างตั้งใจเรียน ลงมือทำอย่างตั้งใจ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พูดอธิบายได้ค่อนข้างชัดเจน





บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันจันทร์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563
เวลา 08.30-12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
  อาจารย์ให้จับคู่ทำ Mind Map  

วิธีเขียนMind Map

1.วาดจุดกึ่งกลางของกระดาษ
2.ใช้รูปภาพหรือจะวาดรูปประกอบไอเดียที่เราเพิ่งจะเขียนลงไปตรงกลาง
3.เล่นสีเยอะๆ
4.วาดกิ่งออกมาจากภาพตรงกลางต้องให้เส้นเชื่อมต่อกัน
5.วาดเส้นโค้งเข้าไว้
6. เขียนคีย์เวิร์ดบนเส้นกิ่ง
Mind Map เรื่องแมว 😺
1. สายพันธุ์
2. ลักษณะ
  - สี
  - ขนาด
  - รูปทรง
  - ส่วนต่างๆของร่างกาย
3. การดำรงชีวิต
 - อาหาร
 - การดูแล
 - สภาพแวดล้อม
 - การออกกำลังกาย
4.ข้อควรระวัง
5.ประโยชน์
6.โทษ
คำศัพท์
1. Blame = โทษ
2. Caution = ข้อควรระวัง
3. The environment = สภาพแวดล้อม
4. Strain = สายพันธุ์
5. Care = การดูแล
การประเมิน💕
ประเมินตนเอง :  ตั้งใจฟังเพราะต้องเอาไปใช้ในการเขียนแผน
ประเมินเพื่อน :   ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบให้
ประเมินอาจารย์ : อธิบายวิธีการเขียนและบอกถึงเวลาไปสอบเด็กจริงต้องทำอย่างไง



วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันจันทร์ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563
เวลา 08.30-12.30 น.



เนื้อหาที่เรียน
การสอนแบบบูรณาการ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการสอนหลายวิธีจัดกิจกรรมต่างๆในการสอนเนื้อหาสาระที่เชื่อมโยงกัน ตลอดจนมีการฝึกทักษะที่หลากหลาย
การจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัย
  เด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านการเล่น  เรียนรู้อย่างมีความสุข  จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ  ลักษณะกระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นแบบเปิดกว้าง จัดให้มีประสบการณ์ที่หลากหลายโดยให้เด็กได้เรียนรู้ตามความสนใจหรือให้เด็กได้แสดงออกในแนวทางที่เขาสนใจ ซึ่งในหนึ่งสาระเด็กสามารถเรียนรู้ได้จากหลายกิจกรรม และในหนึ่งกิจกรรมเด็กสามารถเรียนรู้ได้หลายทักษะ หลายประสบการณ์สำคัญ การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ครูจึงควรศึกษาก่อนว่าทักษะ สาระการเรียนรู้ หรือประสบการณ์สำคัญใดที่จะจัดให้กับเด็ก แล้วจึงวางแผนการจัดกิจกรรมต่อไป
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
- จำนวนนับ 1 ถึง 30
- เข้าใจหลักการการนับ
- รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
- รู้ค่าของจำนวน
  - เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
- การรวมและการแยกกลุ่ม
2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกื่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
- เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
- รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
- เข้าใจเกื่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
- ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
- รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น


คำศัพท์
1. Compare = เปรียบเทียบ
2. Development = พัฒนาการ
3. Sort = เรียงลำดับ
4. Matter = สาระ
5. Chart = แผนภูมิ
การประเมิน💕
ประเมินตนเอง : ตั้งใจจด
ประเมินเพื่อน :  ตั้งใจฟัง
ประเมินอาจารย์ :  พูคอธิบายได้ละเอียด พูคให้คิดตามได้ชัดเจน







บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันจันทร์ ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563
เวลา 08.30-12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
อาจารย์ให้แต่งเพลงในคาบแล้วก็ร้องเพลง
เพลงที่แต่งเอง
                         มา มา มา มาซิเรามา   มาต่อแถวกัน (ซ้ำ)
                        อย่ามัวแชเชือน            เดินตามเพื่อนให้ทัน
                        ระวังเดินชนกัน             ต่อแถวกัน  ว่องไว
                          เอ้านับ  1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  เฮ้

เพลงที่อาจารย์ให้ร้องในคาบ
เพลง จัดแถว 
                          สองมือเราชูตรง        แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
                  ต่อไปย้ายไปข้างหน้า       แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

เพลง  ซ้าย-ขวา
                            ยืนให้ตัวตรง           ก้มหัวลงปรบมือแผละ
                    แขนซ้ายอยู่ไหน             หันตัวไปทางนั้นแหละ

เพลง นกกระจิบ
                                    นั่นนกบินมาลิบลิบ
                            นกกระจิบ หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ห้า
                                    อีกฝูงบินล่องลอยมา
                            หก  เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ  ตัว

เพลง เท่ากัน-ไม่เท่ากัน
                                     ช้างมีสี่ขา ม้ามีสี่ขา
                                     คนเรานั้นหนา สองขา ต่างกัน
                                     ช้างม้า มีสี่ขา เท่ากัน (ซ้ำ)
                                     แต่กับคนนั้น ไม่เท่ากันเอย
             

คำศัพท์
1. Walk = เดินชน
2. Count = นับ
3. Line up = จัดแถว
4. Warbler = นกกระจิบ
5. Equal = เท่ากัน


การประเมิน💕

ประเมินตนเอง : พยายามตั้งใจร้อง ไม่ให้ผิดจังหวะ
ประเมินเพื่อน :  ช่วยกันร้องเพลงให้ตรงจังหวะ
ประเมินอาจารย์ :  สอนร้องเพลงให้ถูกวิธี สอนร้องให้ตรงจังหวะ



บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 27 มกราคม 2563
เวลา 08.30-12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน

เทคนิคการจัดประสบการณ์
1. นิทาน              4. คำคล้องจอง                 7. แผนภูมิภาพ
2. เพลง               5. ปริศนาทำทาย               8. ประกอบอาหาร
3. เกม                 6. บทบาทสมมุติ

สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  1. จำนวนและการดำเนินการ เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง
  2. การวัด เข้าใจพื้นฐานเกื่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
  3. เรขาคณิต รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
  4. พีชคณิต เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
  5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
  6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ
คำศัพท์
1. Geometry = เรขาคณิต
2. Algrbra = พีชคณิต
3. Tale = นิทาน
4. The measurement = การวัด
5. Probadility = ความน่าจะเป็น

การประเมิน💕

ประเมินตนเอง : จดที่อาจารย์บอกให้ได้มากที่สุด
ประเมินเพื่อน :  ตั้งใจฟังที่อาจารย์บอก
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ได้อธิบายให้เข้าใจถึงเทคนิคการสอน

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันจันทร์ ที่ 20 มกราคม 2563
เวลา 08.30-12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน 
คณิตศาสตร์อยู่รอบตัวเรา เช่น เวลา  การเต้นของหัวใจ 


สมอง (BRANI) ทำงานอย่างไง 
1. ซึบซับข้อมูล
2. ผ่านการกระทำ
3. ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ หู ตา จมูก ปาก ลิ้น
4. เกิดการเรียนรู้

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์

บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญ ๆ
ทฤษฎีการเรียนรู้
1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
3) การคิดแบบหยั่งรู้ เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
2.ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
3.ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)


การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
  • กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
  • การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
  • การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
  • ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
  • การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
  • การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
  • การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
  • การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
  กิจกรรมในห้องเรียน
   อาจารย์ได้ให้กระดาษ 1 เเผ่น เเละให้ทุกคน นำเสนอการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก ผ่านกระดาษ ในรูปเเบบการพับ การฉีก อื่นๆ อาจารย์ได้อธิบายผ่านสิ่งที่เราประดิษฐ์ คณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก ไม่ว่าจะสอน พับ ก็ได้เรียนรู้ การวัด ขนาด รูปทรง จำนวน เเละอีกมากมาย

คำศัพท์
1.Experience = ประสบการณ์
2. Discovery = การค้นพบ
3. Learn = เรียนรู้
4.Course = หลักสูตร
5.Number = จำนวน

การประเมิน💕
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังและทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจทำกิจกรรมของอาจารย์
ประเมินอาจารย์ : ชอบที่อาจารย์อธิบายและให้ได้ลงมือปฎิบัติเอง


วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึนอนุทินครั้งที่ 1




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันจันทร์ ที่ 6 มกราคม 2563
เวลา 08.30-12.30 น.

เนื้อหาที่ได้เรียน😊
วันนี้เป็นการเรียนการสอนคาบแรกของวิชานี้อาจารย์​ได้อธิบายวิธีการจัดทำบล็อกให้เป็นเเฟ้มสะสมผลงานเเละเนื้อหาการเรียนได้มอบหมายงานไว้ดังนี้
1.งานวิจัยคณิตศาสตร์​สำห​รับ​เด็ก​ปฐมวัย​
2.บทความเกี่ยวกับ​คณิตศาสตร์​สำหรับเด็กปฐมวัย
3.งานโทรทัศน์ครู

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ💘
1.Learning  = การเรียนรู้
2.Present = นำเสนอ
3.Thinking = การคิด
4.The analysis = การวิเคราะห์
5.Research = วิจัย

การประเมิน💕

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนฟังที่อาจารย์อธิบายและจดบันทึกงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนมาค่อนข้างช้า เนื่องจากต้องไปเพิ่มถอนวิชาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พูดอธิบายได้ค่อนข้างเข้าใจและชัดเจน






สาธิตการสอนเรื่องเครื่องเขียน

🌻 สาธิตการสอนเรื่องเครื่องเขียน 🌻