วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันจันทร์ ที่ 27 เมษายน 2563
เวลา 08.30-12.30 น.




🍒เนื้อหาที่เรียน🍒
วันนี้เป็นการสอนคาบสุดท้าย อาจารย์ได้ทบทวนในแผนของแต่ละกลุ่มเพราะยังมีข้อผิดพลาดบ้างส่วน และเรื่องการสอนเด็กในวันอังคาร(เรื่องลักษณะ) โดยจะต้องทำเป็นลำดับขั้นตอนของการสอน
  1.ถามชื่อของมะละกอชนิดต่างๆ
  2.ให้เด็กลองสังเกตลักษณะด้วยตาก่อน เช่น สี รูปทรง เป็นลำดับแรกถามเด็กและบันทึกลงในตาราง
  3.ให้เด็กได้ลองสัมผัสพื้นผิว ดมกลิ่น และชิม ถามเด็กและบันทึกลงในตาราง
  4.ต้องสรุป ว่ามะละกอแต่ละชนิดมีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร


🍑งานที่ได้รับมอบหมาย🍑
อาจาร์ยก็ได้ให้นักศึกษาเตรียมอุปกรณ์สาธิตการสอนดังนี้
1.กระดาษA4 2เเผ่น
2.สีเมจิสีแดงและม่วง
3.ดินสอ
🌻รูปภาพประกอบ🌻



🌺คำศัพท์🌺
1.The shape = รูปทรง
2.Sniff = ดมกลิ่น
3.An error = ข้อผิดพลาด
4.Type = ชนิด
5.Order = ลำดับ

🍀การประเมิน🍀
ประเมินตนเอง : เรียนรู้เรื่องมากขึ้น 
ประเมินเพื่อน : เพื่อนค่อนข้างตั้งใจเรียน 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีพูคให้เข้าใจและชัดเจน

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13



 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันจันทร์ ที่ 20 เมษายน 2563
เวลา 08.30-12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน  
เริ่มต้นการเรียนด้วยเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

💗เพลงสวัสดียามเช้า💗
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า   อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว        หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุรพ่อ          ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า


💟 เพลงเข้าแถว 💟
เข้าแถว เข้าแถว   อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือนเดินตามเพื่อนให้ทัน   ระวังเดินชนกันเข้าแถวพลันว่อง

🍑งานที่ได้รับมอบหมาย🍑
อาจาร์ยก็ได้ให้นักศึกษาเตรียมอุปกรณ์สาธิตการสอนดังนี้
1.แก้ว
2.ปากกา3แท่ง 
3.ดินสอ4แท่ง 
4.สีเมจิก2แท่ง
5.กระดาษA4 1แผ่น  
6.ข้าวสาร
7.ตะเกียบ 1อัน
🌻รูปภาพประกอบ🌻


🌺คำศัพท์🌺
1.Magic color = สีเมจิก
2.Pencil = ดินสอ
3.Chopsticks = ตะเกียบ
4.Glass = แก้ว
5.Rice = ข้าว

🍀การประเมิน🍀
ประเมินตนเอง : เรียนรู้เรื่องมากขึ้น เเต่ต้องใช้ความตั้งใจมาก
ประเมินเพื่อน : เพื่อนค่อนข้างตั้งใจเรียน 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายได้ดีแล้วเข้าใจ









สรุปตัวอย่างการสอน

💜สรุปตัวอย่างการสอน💜
💙เรื่อง คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตัวเลขกับเด็กอนุบาล💙


ครูที่โรงเรียนประถมเกรตบาร์ ในเบอร์มิงแฮมมีวิธีอย่างไรในการสังเกตการณ์เด็ก ๆ และวางแผนการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นอนุบาลและเตรียมประถมครูอแมนดา แม็กเคนนาเชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรสนุกและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยต้วเอง และพัฒนาทักษะเช่น การจดจำตัวเลข การจัดลำดับและการคำนวณไปด้วย ในรายการ ครูจะสาธิตวิธีประเมินเด็ก ๆ ผ่านการสังเกตการณ์ในแต่ละวัน และวิธีนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมครูเพื่อวางแผนการสอนต่อไป โรงเรียนเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า หากเด็ก ๆ รู้สึกสนุกกับวิชาเลขตั้งแต่ชั้นเล็ก ๆ แล้ว ผลการเรียนรู้ในชั้นปีอื่น ๆ ก็จะเปลี่ยนไปในทางดีด้วย



สรุปวิจัย

🌸สรุปวิจัย🌸
เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ตามพัฒนาการของเด็กเป็นสําคัญกิจกรรมที่ใช้พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยควรเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และสอดคล้องกับ ชีวิตประจำวันของเด็ก ใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายและเป็นวัตถุสิ่งของจริง โดยให้เด็กได้เล่น เพื่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข และสามารถนำเอาองค์ความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ 

งานวิจัยของ: วิจิตตรา   จันทร์ศิริ 
ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษา
ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน 
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวทิยาลยับูรพา 
ที่มา: 

สรุปบทความ

💜สรุปบบทความเรื่อง💜
พัฒนาการด้านคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละช่วยอายุ

🍉เลขสำหรับเด็กช่วง 1-2 ปี🍉
คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกที่ และกระทั่งในวัยแค่ 1-2 ขวบ คุณก็สามารถกระตุ้นพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของลูกได้โดยการสอนให้ลูกรู้จักตัวเลขและนับเลขจาก 1 ถึง 10 ให้เด็กฟัง เด็ก ๆ ส่วนมากสามารถเรียงลำดับค่าตัวเลขน้อยไปหามากได้ด้วย 

🍇คณิตศาสตร์กับเด็กช่วง 3-4 ปี🍇
ในวัยนี้ เด็กหลาย ๆ คนจะเริ่มลองเขียนแล้ว รวมถึงการเขียนตัวเลขในรูปของแบบฝึกหัดนับเลขตามลำดับและเขียนวันที่ด้วย เมื่อเด็กมีพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ เด็กก็รับรู้ว่าสามารถใช้ร่างกายของตัวเองช่วยได้ ดั้งนั้นลูกก็จะนับจาก 0 ถึง 10 ได้โดยใช้นิ้วมือด้วยตัวเอง

🍄คณิตศาสตร์กับเด็กอายุ 5-6 ปี🍄
วัยนี้เป็นช่วงพัฒนาการที่สำคัญ เด็กควรสามารถบวกลบเลขง่าย ๆ ที่มีผลรวมไม่เกิน 10 เช่น 1+9, 4+6, 8+2 เด็กควรสามารถแยกแยะเลขคู่ เลขคี่ได้และนับเลขคู่คี่ตามลำดับได้ เช่น การนับเลขคู่ก็ต้องนับว่า 2, 4, 6, 8 และเลขคี่ก็จะนับว่า 3, 5, 7 เป็นต้น

🌼สรุป🌼
วัยนี้เป็นช่วงพัฒนาการที่สำคัญเด็กได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และเรียนรู้จากการใช้สื่อการสอนที่เป็นรูปธรรม จะส่งผลให้มี ทักษะกระบวนการทางความคิด และพัฒนาความสามารถด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การรู้ค่าจำนวน การจัดหมวดหมู่ การจำแนกเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ 

ที่มา:theasianparen



สาธิตการสอนเรื่องเครื่องเขียน

🌻สาธิตการสอนเรื่องเครื่องเขียน🌻




สาธิตการสอนเรื่องเครื่องเขียน

🌻 สาธิตการสอนเรื่องเครื่องเขียน 🌻